วันอังคารที่ 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558

EonLabs FUSE Product Review in THAILAND

Reality  Product Review:  by Mickeymouse Thailand

ทดสอบของจริง : ฟิวส์เทพ จากกลุ่มนักเล่นตัวจริง Eon Labs Fuse




EonLabs Fuse

" Fuse ที่เหมือนว่าจะเป็นของเล่น แต่มันเป็นของเล่นที่จริงจังมากเอาการ"



ก่อนอื่น ต้องเกริ่นกันซักนิสนึงครับว่า ที่ผมได้มีโอกาสไปเห็นไปรู้จักเจ้าFuseนี้ เกิดจากการทำงานที่เดินทางไปตัดสินงานแข่งขันรายการต่างๆที่เป็นรายการระดับนานาชาติ จนถึงระดับโลก หากท่านผู้อ่านได้พอจะติดตามผมกันบ้างท่านคงจะทราบว่า งานอดิเรกที่แสนจะจริงจังของผมคือ งานผู้ตัดสิน ที่ได้เดินทางไปมาจนเรียกว่า ไปต่างประเทศนับดูแล้วน่าจะมากกว่าจังหวัดที่เคยไปในไทยเสียอีก ดังนั้นจากการที่ได้มีโอกาสฟังรถดีๆมากมาย รถแย่ๆก็มากมาย การที่ได้ไปถ่ายทอดแลกเปลี่ยนความรู้ที่เรามีและสั่งสมมานานขนาดตลอดชีวิต ให้กับนักเล่นนักแข่งทั่วโลก ก็เป็นสิ่งที่ผมก็ภาคภูมิใจและยินดีที่ได้ทำให้มีการพัฒนาเกิดขึ้นในบ้านเราตลอดมา

สิบกว่าปีที่เดินทางตัดสินไปมากมายหลายประเทศ นับครั้งคงไม่ไหว มีโอกาสมากมายที่จะได้รู้จักคนระดับเจ้าของโรงงานเจ้าของแบรนต์สินค้าดังๆชนิดที่ว่าเรียกว่าเพื่อนคงจะไม่แปลก เพราะไม่ว่าจะค่ายไหน ก็น่าจะเคยมีโอกาสเจอะเจอกันในหน้าที่หลายๆครั้งครับ  ผมเองนั้นทั้งแนะนำสินค้าดีๆ ให้เพื่อนฝูงในวงการมาจำหน่าย ทั้งให้คำปรึกษาจนหลายๆท่านนั้นติดปีกบินสูงแล้วในปัจจุบัน  หลายท่านที่คบกันในด้านวิชาการตอนนี้ก็เป็นผู้บริหารในองค์กรดังๆ ไปแล้ว

จะบอกว่าช่วยส่งเสริมคนนี่เป็นเรื่องปกติของผม ขณะที่เราเองทำงานหลักคือ งานวิชาการ งานด้านการติดตั้งและปรับจูนเสียงจนเป็นที่รู้จักไปทั่วโลกเมื่อไหร่ก็จำไม่ได้ครับ แต่ว่าสินค้าอะไรใหม่ๆที่เขาแน่ใจว่าของทีเด็ดมักจะถูกส่งมาถึงมือผมและทีมงานก่อนเสมอๆ เพราะเพื่อนๆต่างชาติเขารู้ว่า ถ้าผ่านพวกผมแล้ว ขายง่ายขายสบายแน่นอนเพราะเหมือนมีใบการันตีสินค้าว่าดีหายห่วง

เช่นเดียวกันกับเจ้า EonLabs Fuse ที่เพื่อนคนนึงในอินโดนีเซียได้ส่งสินค้ามาให้ทดสอบหลังจากที่ออกวางจำหน่ายมาระยะหนึ่งพร้อมที่จะจัดจำหน่ายทั่วโลกได้
ต้องเรียนตามตรงว่า ตอนแรกพอเห็นตัวจริง ได้จับได้พลิกดูแล้ว ในใจยังไม่เชื่อว่ามันจะต่างอะไรนักหนา ฟิวส์ที่เราหาซื้อได้ยี่ห้อดังๆ หรือฟิวส์ เยอรมันแม็กซิโก ตัวละหลายๆร้อยจนพัน มีเยอะแยะไป ซึ่งก็ล้วนมีคุณภาพที่ต่างจากฟิวส์แถมหรือฟิวส์จีนที่มีขายมากมายไป  ยิ่งด้วยราคาค่าตัวหลัก สองพันกว่าสามพันกว่า แล้วนั้น ยังไงๆผมก็คิดว่าไม่น่าคุ้มค่าเงินแน่ๆ

แต่ก็นะ   ได้มาแล้วก็ต้องลองให้หายสงสัย แล้วจะได้ยืนยันด้วยว่าหูแบบเรานี่ ไม่ใช่ว่าเอาของธรรมดาๆมาทำเป็นของเทพแล้วจะต้มกันได้นะครับ  นี่เป็นสาเหตุที่เราได้ทำการSetup วิธีการทดสอบและชุดทดสอบขึ้นมาเพื่อจะได้ไปทำงานอื่นๆที่ดูจะมีสาระกว่านี้ซะที






โอ้แม่เจ้า  หลังจากที่ ฟังระบบเดิม ฟิวส์แบบ Mini ANL ที่พี่ชายไก่เขาใช้งานอยู่ปกติ ราวๆ 15นาทีเพื่อที่จะหาช่วงเวลาในแทรกต่างๆของCD Stockfish ที่เอามาทดสอบ จนเห็นตรงกันแล้วว่าฟังแต่ต้นแทรกราวๆ 30วินาที วนไปมาหลายๆรอบ จนคุ้นหู ก่อนที่จะลองสลับเจ้า EonLabsFuse เปลี่ยนใส่ โดยใส่ตามทิศทางที่เขากำหนดมาตามลูกศรให้วิ่งไปทางแอมป์ก่อน 





พอเปิดมาครั้งแรก ฟังไปราวๆ สามสี่รอบ  แล้วเราสองคนมองหน้ากันนิดนึงโดยยังมิได้พูดอะไร แล้วให้เปลี่ยนเอาฟิวส์เดิมใส่กลับไปแล้วลองเปิดฟังอีกรอบ  ที่นี่แค่ไม่ถึง10วินาที เราหันหน้ามาหากันโดยมิได้นัดหมาย แล้วพยักหน้าว่า แม่งแตกต่างอย่างสิ้นเชิง    อะไรมั่งที่ต่าง   เพราะไม่ว่าเอาอะไรมาเปลี่ยนใส่ ผมก็เชื่อว่ามีความต่างแน่ๆ บางอย่างต่างแบบแย่ลง  แต่ทว่า เจ้า Mini ANL ขนาด 60Amp ตัวนี้ ที่ใส่เข้าไป ทำให้เกิดความเปลี่ยนแปลงที่ผมว่า แค่พอฟังเพลงรู้เรื่องฟังรายละเอียดเป็น ก็ฟังออกว่าดีขึ้นมากมาย  ผมแยกออกได้ดังนี้นะครับ
1. สิ่งที่ฟังชัดมากที่สุด คือ ความนิ่งของเสียงความสงัดของเสียง ที่ผิดกันลิบแบบที่ว่า ข้อนี้ข้อเดียวก็คุ้มแล้ว
2. รายละเอียดย่านแหลม ที่ไม่แผดไม่ดังแบบรกหู มันหยุมหยิม ชัดเจนและมีหนักเบาตามที่มันควรจะเป็น ฟังแล้วฟินกว่าเดิมเยอะ ชิ้นดนตรีเล็กๆมีเบามีดังเราได้ยินแบบได้อารมณ์มากๆ ที่เขาเรียกว่า Microdynamic ครับ
3. เสียงร้อง เสียงกลางในส่วนของ Fundamental ฟังสบายขึ้น ไม่แหบแห้ง สากหู ละมุนกว่าเดิมพอควร
4. เนื้อเสียงเบส เสียงความถี่ต่ำและมิดเบส ที่มันช่างมีทราวดทรงขึ้นแยกแยะAttack and Decay และความกลมกลืนได้ดีกว่าเดิมแบบฟังได้ชัดเจนไม่ต้องสอนแน่ๆ

สี่ประเด็นนี้ ผมเชื่อว่าคุ้มค่าตั้งแต่ข้อแรกแล้วครับ เล่นเอาคนทดสอบถึงกับงงว่า แม่เจ้า   แค่ลูกฟิวส์ มีผลแบบนี้  สงกะสัย จับเปลี่ยนแม่งทั้งคัน สี่ห้าตัวคงนิ่งสงัด แบบที่เราได้ยินในรถแข่งที่บ้านเขาแน่ๆ


อีกอย่างที่ได้ทดสอบ คือ ใส่กลับทางที่เขากำหนดมาดูซิว่าจะเกิดอารายขึ้น  :  ชิชะ  เสียงกลางเสียงร้องแผดแห้งมันกลับมา ครับ ถึงแม้ว่าจะดีกว่าเจ้าฟิวส์เดิมตัวแรกที่มากับรถ แต่ก็ยอมครับว่า มันต้องไปตามทิศทางที่เขาจัดมาดีกว่ามากครับ







ตัดสินใจง่ายละครับทีนี้   อาทิตย์นี้จะสั่งเข้ามาแบ่งให้พี่ๆ เพื่อนๆ เอาไปฟินกันบ้างแล้ว  ของแบบนี้ไม่พลาดแน่ๆ

แต่ขอนะครับ  ต่อชุดเครื่องเสียงท่าน ใช้ฟิวส์ตัวเดิมไปก่อนให้แน่ใจว่า ไม่มีอะไรมาเสี่ยงให้ระบบมีอะไรที่ต้องทำให้ฟิวส์ขาดได้   เพราะขาดทีนึงหมายถึงตังหลายพันบาทนะคร้าฟฟฟฟ   อย่าทำเป็นเล่นไป หึหึ


คุ้มค่ากับการรอคอย



ปอลิง  . วันที่เขียนบททดสอบนี้ ผมได้ลองแค่ ANL fuse นะครับ เจ้าตัวยิบย่อย Buzz กับ Mini Buzz ยังไม่ได้ลอง  แล้วจะมารายงานผลครับว่าดีทุกแบบรึไม่อย่างไร





ใครอยากได้อยากโดน   อินบ้อคมานะครับ Faceฺbook: Pakawat Laohaviroj  /  ID Line : Kunnue1




วันอังคารที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2558

know-how ที่ควรทราบและความรู้เกี่ยวกับ Damping Material

เรื่องโดย : Mickeymouse




ในอดีต ย้อนกลับไปราวสิบห้าปีที่ผ่านมา Damping Material ได้เรื่มเข้ามามีบทบาทในกลุ่มธุรกิจเครื่องเสียงรถยนต์ ด้วยแผ่นยางที่ผลิตมาจากยางธรรมชาติ(Natural rubber) ผสมกับ  ยางมะตอย(Asphalt) เนื่องด้วยวิตุดิบและส่วนผสมที่ใช้นี้เอง จึงยังจำเป็นที่จะต้องมีการใช้ปืนเป่าลมร้อน เป่าที่ผลิตภัณฑ์ เพื่อให้เกิดความอ่อนนุ่มและสามารถติดตั้งได้ง่ายขึ้น แต่ตัวที่จะทำให้สามารถยึดเกาะกับตัวถังเหล็กของรถได้ดีนั้นก็ยังต้องใช้การพ่นกาวลงที่พื้นผิวหน้าเพื่อให้ติดได้ดี

ภาพ : แผ่นยางยุคก่อนที่มาเป็นม้วนรอการใช้งาน และต้องเป่าด้วยปืนความร้อน





ณ.ปัจจุบันนี้ ในปี2015 วัตถุดิบหลักที่เป็นที่ยอมรับในการนำมาใช้ผลิตเจ้าแผ่นแดมป์ได้มีการพัฒนาเปลี่ยนแปลงไปมากมาย โดยใช้ยางบูทิล( Butyl rubber ) (IIR), หรือในทางเคมีเราเรียกชื่อมันว่า isobutylene rubber (ยางไอโซบูทิลลีน) และ -isoprene rubber (ยางไอโซเพรน ), เจ้าสิ่งนี้เป็นยางสังเคราะห์ ที่ผลิตขึ้นด้วย การทำ Copolymerization  โดยใช้ส่วนประกอบหลักคือเจ้า ไอโซบูทิลลีน ( isobutylene) ผสมกันกับไอโซเพรน เล็กน้อย (isoprene). แล้วค่อยฉีดออกมารีดเป็นแผ่นหรือรูบแบบที่ต้องการนำไปใช้งาน  โดยที่ บางโรงงานผู้ผลิต ก็ทำการผสมสิ่งอื่นเข้าไปเพื่อให้เป็นการลดต้นทุนในการผลิต เช่นผสมแป้งฝุ่นเข้าไป ในปริมาณที่แล้วแต่จะต้องการประหยัด
อันที่จริงแล้วนั้น เจ้า Butyl  rubber  ที่ผลิตได้จากการ Copolymerization นั้น ก็สามารถที่จะเกาะยึดกับพื้นผิวได้แน่นสนิท และประสิทธิภาพในการเกาะติดและปัจจัยในการลดการสั่นกระพือของวัสดุที่นำไปแปะ ได้อย่างดีเยี่ยมมากๆแล้ว หากแต่ในแง่ของการแข่งขันทางธุรกิจจึงทำให้เกิดการผสมสิ่งต่างๆลงไปโดยไม่ได้นึกถึงคุณภาพที่ลดลง

แล้วอะไรที่มาบอกเราได้ว่า เจ้าแผ่น Damp ที่ว่า จะสามารถเกาะยืดและลดการสั่นกระพือได้ดีหละ?
 คำตอบคือ  ค่า Factor of Mechanical losses ที่เลขนี้ยิงมากกว่าแสดงถึงประสิทธิภาพในการลดการสั่นได้สูงกว่า เช่น  0.22 กับ 0.40  ดังตัวอย่างค่าทางเทคนิคที่ทางโรงงานผู้ผลิตได้แจ้งค่ามาเราจะสามารถสังเกตุได้ว่า หากวัสดุและส่วนผสมเหมือนกันแล้วนั้น ปัจจัยที่จะทำให้ประสิทธิภาพในการลดการสั่น จะขึ้นอยู่กับ ความหนา และน้ำหนัก นั่นเอง เช่น
Tickness 2.3mm  จะมีค่า Mechanical losses 0.22
Tickness 2.0mm  จะมีค่า Mechanical losses 0.18
Tickness 1.8mm  จะมีค่า Mechanical losses 0.13

แต่ถ้าหากเรานำความหนาของยากธรรมชาติผสมยางมะตอยในแบบเก่าๆ ที่มีความหนา2.0mm คุณภาพยังไม่สามารถเทียบเท่ากับวัสดุยุคใหม่ๆอย่าง Butyl ที่มีความหาเพียงแค่ 1.8mm ได้เลย ดังนั้น ณ.ชั่วโมงนี้ ฟันธงได้เลยว่า คุณภาพเทียบกับความคุ้มค่าเงินนั้น เจ้ายางสังเคราะห์ บูลทิล ได้เปรียบกว่าหลายช่วงตัวถึงแม้ราคาจะสูงกว่าซัก 30%  แต่ในแง่มุมเรื่องของกลิ่น ที่ไม่มีกลิ่นเหม็นๆให้น่ารำคาญใจเหมือนพวกยางมะตอยรุ่นเก่าๆที่ทั้งเหนียวไหลไปมาและกลิ่นเหม็นไปตลอดเมื่อเจอความร้อนสูงหน่อย


ภาพ: ยางสังเคราะห์ บูลทิล ที่รีดเป็นแผ่นและผนึกด้วยอลุมิเนียมฟลอยที่สวยงามพร้อมใช้










วันอาทิตย์ที่ 8 มีนาคม พ.ศ. 2558

test report AUDIOFROG USA GB Series 2 ways Component Set

  ทดสอบ AUDIOFROG  GB SERIES COMPONENT SET                    
  Date : 3 FEB 2015(THAILAND)
  โดย :  MICKEYMOUSE


AUDIOFROG GB SERIES




Concept Design ชัดเจนในการเป็นลำโพง Super Hi-End ที่ออกแบบเข้ายุค Modern Classic Design

ผมได้ข่าวการรวมตัวกันของบุคคลระดับกูรูในวงการเครื่องเสียงรถยนต์อเมริกันมาพักใหญ่ ว่ากำลังร่วมกับผลิตลำโพงภายใต้ยี่ห้อใหม่ออกมาก็ราวปีกว่าๆที่ผ่านมาครับ  แต่ก็มิได้ติตามไกล้ชิดมากมายนักจนได้เจอข้อมูลในโลก Cyber ว่า มีลำโพงรถยนต์ค่ายใหม่กำลังจะเปิดตัวในงาน CES 2015 ที่ผ่านมานี้ และยังไปเจอะเจอะอีกว่า เพื่อนเก่าที่เคยทำงานตัดสิน IASCAด้วยกันที่ประเทศจีน คือ นาย แกรี่ บิ้กซ์ ( Mr.Gary Biggs) นี่หละที่เป็นหนึ่งในผู้ก่อตั้ง ซึ่งหากย้อนอดีตกลับไปคงต้องเล่าให้ฟังว่า ก่อนหน้านั้นผมเองได้เคยไปตัดสินรถคันที่นาย Gary ติดตั้งระบบเสียงตอนที่ไปอยู่กับค่าย JBL ใหม่ๆ และยังได้มีโอกาสเจอะเจอกันบ่อยๆครับในประเทศไทยเมื่อช่วงที่เขาโด่งดังจากการแข่งขันระดับโลกติดต่อกันหลายสมัย เอาว่าเล่าให้เพื่อนๆฟังกันคร่าวๆให้พอทราบกันว่า คนร่วมออกแบบพัฒนาลำโพงตัวนี้ ไม่ธรรมดาแน่นอน 


คุณGary ได้คุยกับผมทาง Facebook และเล่าให้ฟังว่า ลำโพงชุดนี้ถือว่าเป็นความภูมิในที่สุดในชีวิตที่ได้สร้างกันกับทีมงาน เพราะว่า เป็นลำโพงที่ได้ทำในสิ่งที่ตนคิดจากประสพการณ์ที่ผ่านมาหลายสิบปี จนออกมาเป็นสินค้าจริงและได้คุณภาพอย่างที่ตั้งใจจริงๆไม่ติดรื่องของต้นทุนและงบประมาณเพราะที่นี่ยอมให้เขาได้ทำสิ่งที่ดีที่สุดที่เขาต้องการตั้งแต่ต้นจนจบ




          การออกแบบโครงสร้างลำโพงไปจนถึงรายละเอียดความงดงามของตัวผลิตภัณฑ์ภายนอกสุดยอดความลงตัว


ที่ผมเห็นว่าเป็นสิ่งที่สะดุดความสนใจของผมที่สุดก่อนที่จะได้ทดลองฟัง ก็คือ การออกแบบตั้งแต่โครงสร้างDriverลำโพง การออกแบบอุปกรณ์ชิ้นเล็กชิ้นน้อยในการช่วยให้งานติดตั้งง่ายขึ้น  อีกทั้งการออกแบบหน้าตาของกรอบฝาครอบที่แสนจะงดงามดูย้อนไปในยุคราวๆ70 ถึง 80 ที่การ Design รถยนต์ และสินค้าต่างๆจะไปในแนวทางผสมผสานทั้งความคลาสสิคในยุคเก่า และความทันสมัยในยุคปัจจุบันเข้าด้วยกันอย่างลงตัวนี่คือสิ่งที่เราเรียกว่า  Modern Classic Design  ลองนึกภาพว่าเวลาลงมาติดตั้งในรถของเรายุคนี้ มันจะดูงดงามดูผู้ดีมีรสนิยมดีจัง  ท่านอาจสังเกตุได้ชัดเจนจากตัวฝาครอบลำโพงแต่ละตัวที่ออกแบบมาได้สวยงามมากๆในความคิดผม จากภาพประกอบที่นำมาให้ชมท่านจะเห็นความพิถีพิถันในการออกแบบทุกชิ้นตั้งแต่ Passive Crossover ทั้ง ลำโพงทั้งสามขนาดที่ผมได้รับมาทดสอบ  Driver เสียงแหลม เสียงกลาง และ เสียงต่ำ ไม่ใช่การจับลำโพงจากโรงงานโน้นนี้มารวมกันขายเราแบบง่ายๆ แต่เห็นได้ชัดเจนว่า มาจากการออกแบบภาพรวมและเลือกที่จะสร้างชิ้นงานทุกชิ้นขึ้นมาเฉพาะ ขึ้นรูปขึ้นโมล์ดใหม่กันทั้งหมด เพื่อการสร้างความแตกต่างทั้งในแง่ของคุณภาพเสียงไปจนถึงความต่างทางด้านการตลาด งานนี้ไม่ได้ลงทุนกันน้อยๆแน่นอนครับ  
หลังจากที่เราได้ติดต่อกันก่อนที่จะมีการเปิดตัวสินค้าในงาน CES ทางคุณแกรี่ ได้แจ้งผมมาว่า ขอเจาะจงให้ผมเป็นผู้ทำการทดสอบสินค้าชิ้นนี้เป็นคนแรกในไทย ด้วยความมั่นใจว่าจะให้คำแนะนำและวิจารย์กันแบบตรงๆในฐานะเพื่อนเพื่อจะได้นำไปปรับปรุงผลิตภัณฑ์และทราบจุดเด่นจุดด้อย จึงได้ส่งชุดลำโพงสำหรับการทดสอบเสียงชุดนี้มาผ่านทางบริษัทตัวแทนจำหน่ายในประเทศไทย ซึ่งก็คือ ค่าย มหาจักรดิวิลอปเม้น ซึ่งทางผู้บริหารได้ติดต่อประสานและส่งให้ผมมาทำการทดสอบครับ
ผมได้รับลำโพงมาราวๆ1เดือนแล้วและทำการลงตู้เพื่อเบรินอินก่อนโดยไม่ได้ไปฟังเสียงซักเท่าไร จนคิดว่าน่าจะพร้อมแล้ว เลยจัดการนำมาทดสอบให้ท่านๆเพื่อนๆพี่ๆน้องๆในวงการได้อ่านกันครับ



 


การทดสอบจริงเกิดขึ้นในห้องที่ผมเพิ่งทำการSet up ใหม่ในบ้าน กับชุดเครื่องเสียงที่พยายามสะสมไว้มานาน
เริ่มต้นด้วยระบบง่ายๆดิบๆ ในบ้านคือ ตัว เพาเวอร์แอมป์แบบมีreceiver ในตัวยุคโบราณ คือ PIONEER  MODEL SX 424  น่าจะอายุอานามมากว่าผม คือ เกิน40ปีแล้วแน่นอน ต่อตรงเข้ากับชุดลำโพง Audiofrog GB series แบบ2 ทางผ่านPassive crossover ที่ส่งมาพร้อมกันรุ่น GB2510C ทีแรกคิดไว้ว่า แอมป์จะขับออกหรือไม่ไม่ค่อยมั่นใจครับ แต่พอเปิดเสียงเท่านั้นหละ บอกได้เลยว่า perfect match จริงๆ ใช้volume ไม่ถึง40% ก็ดังเหลือเฟือ ขนาดหรี่ลงไปราว 20% รายละเอียดชิ้นดนตรีและไดนามิคยังครบถ้วน สิ่งแรกที่ประทับใจ จากการเปิดแผ่น Jazz คือ เครื่องเป่าทองเหลืองทั้งหลายพวก Saxophone  ทำได้หวานจับใจจริงๆครับ  เอาว่าหวานละมุนจนเคลิ้มเลย  ตลอดเวลาที่อยู่ในวงการนี้ผมไม่เคยเจอแน่ๆครับกับลำโพงอเมริกันออกแบบที่ทำได้หวานยังกับเครื่องเสียงหลอด แต่ความละเอียดของชิ้นดนตรียังครบถ้วนชัดเจนสมจริง  แถมด้วยเสียงชิ้นดนตรีย่านปลายแหม พวก tri angle พวกเครื่องเคาะโลหะที่ประกายสวยงามไม่กระด้างหู อีกทั้งความเหมือนจริงแบบที่ถ้าเป็นงานแข่งทำได้แบบนี้คะแนนเสียงคงเกิน19แน่ๆ 
ต่อมามาฟังกลุ่มเสียงร้องกันบ้างว่าช่วงรอยต่อของCrossover กับเสียงที่ทำงานระหว่างdriver ตัวแหลมกับwoofer เป็นยังไง โดยเอาเพลงร้องหลากหลายแนวมาเปิด ทั้งแผ่นแข่งขัน ที่มีฟังจนคุ้นหู ทั้งแผ่น Andrea ที่เน้นเสียงร้องในแนว Italian classic ที่โชว์พลังมากมาย ผลออกมาได้ยอดเยี่ยมครับ ทั้งความสะอาดไม่คลุมเครือไม่อุดอู้ ผสมกับเนื้อร้องย่านต่ำที่ทำได้ไม่หนาเกินไปแถมด้วยความอบอุ่นลงตัว  งานนี้ บอกเลยว่า เกินคาดเดามาก ไม่คิดว่าเขาจะทำได้ดีแบบนี้  ผมเองลองกลับมาเปิดผ่านแผ่นที่บันทึกธรรมดาๆหน่อย แบบKOH  Mr.Saxman ชุดโปรดที่ฟังในรถบ่อยๆ  สิ่งที่ได้มากขึ้นแบบไม่ต้องนั่งจับเลยคือ ความสมจริงยังกับตัวจริงมายืนเล่น มายืนร้องให้ฟังในห้องนอนเลย  ว้าวววว   พระเจ้า มันยอดมาก ตกลงมันเป็นเพราะลำโพงคู่นี้ หรือเพราะเจ้า แอมป์โบราณกันแน่   แบบนี้สงสัยต้องลองเปลี่ยนลำโพงชุดอื่นมาลองครับ   จะได้หายสงสัย  ขอเวลาอีกวันสองวันไปทำการเอาลำโพงตัวอื่นในระดับราคาซัก 2หมื่นบาท มาลองกันว่า จะเป็นยังไง  ปรากฏว่า แตกต่างกันแบบฟ้ากับเหวครับ  ถึงแม้ว่า ลำโพงที่นำมาลองจะออกอาการดีกว่าที่เคยฟังก็ตาม แสดงว่าเจ้าแอมป์ตัวที่ผมได้มาลงในห้องนี้ก็ไม่ธรรมดาเลย  แต่ลำโพง Audiofrog คู่นี้ก็ทำได้เทพจริงๆครับ เป็นอีกหนึ่งลำโพงที่จะต้องกลายเป็นตำนานเทพเจ้าไปอีกยาวนานแน่นอนครับ ผมเองไม่แน่ใจว่าในยุคเศรษฐกิจบ้านเราเป็นแบบนี้ จะมีการนำเข้ามาจัดจำหน่ายและประชาสัมพันธ์ยี่ห้อแบบจริงจังแค่ไหน หรือจะมีคนรู้จักในวงกว้างแค่ไหน........
แต่หากท่านที่ได้อ่านบทความทดสอบชิ้นนี้ของผม ผมเอาหัวเป็นประกันได้เลยว่า เป็นอีกสุดยอดชุดลำโพงที่ตอบสนองได้ทั้งคอ Hi-Endได้สุดติ่ง และด้วยระดับความไวสูงแต่รองรับกำลังขับสูงๆได้ด้วย ทำให้ลำโพงชุดนี้สามารถทำแนวเสียงให้สนุกและมีระดับความดังสูงๆได้ด้วยแบบไม่เพี้ยน  ลำโพงอเมริกันที่ได้เคยทดสอบมาร่วมๆยี่สิบปีที่ทำงานด้านนี้มา มีเพียงสองยี่ห้อที่ผมประทับใจ  แต่ หนึ่งในนั้นที่ประทับใจที่สุดตอนนี้ ฟันธงได้เลยว่า AUDIOFROG ครับเพื่อนๆ 












SPECIFICATIONS
Nominal Impedance: 4 Ω
RMS Power Handling: 100 W (with recommended crossover)
Peak Power Handling: 300 W (with recommended crossover)
Frequency Response (-3 dB): 150 Hz – 24 kHz
Crossover Frequency: 3.2 kHz
Low Pass Filter: 2nd Order
High Pass Filter: 3rd Order
Recommended Amplifier RMS Power Range: 20 W – 100 W
Recommended High Pass Filter Frequency and Slope: ≥ 200 Hz, ≥ 12 dB/oct
Reference Tweeter Level Setting: -3 dB
Air Core Coils.
Polypropylene Capacitors
Wire-Wound Resistors
L-Pad Tweeter Adjustment Circuit
Tweeter Adjustment Scale Marked in 1/4 dB Increments
Screw TerminalsCast Aluminum Chassis

วันพุธที่ 14 มกราคม พ.ศ. 2558

ทดสอบของจริง Helix DSP Pro แบบติดตั้งในรถ โดย Mickeymouse : ภควัต เลาหวิโรจน์


ทดสอบของจริง ในรถจริง จากคนจูนอาชีพจริง กับHELIX DSP PRO กับ : MICKEYMOUSE

#SSSAUDIO.COM#SSSAUDIO##VOLVO#แสงสีเสียงออดิโอ
โดย : ภควัต  เลาหวิโรจน์  Tel.0805999980


หลังจากที่ทางค่าย Audiotec-Fischer เยอมัน ได้เปิดตัวDSP รุ่นท้อปตัวล่าสุดคือ Helix DSP Pro ราวๆสองเดือนที่ผ่านมา วันนี้ได้มีโอกาสติดตั้งจริงในรถVolvo S60 ตัวปัจจุบัน ที่ต้องบอกเลยว่า ไม่มีใครกล้ายุ่งเพราะคิดว่าระบบเสียงที่มากับรถนั้นซับซ้อนยุ่งยากเหลือเกิน จังหวะที่เรามีท่านลูกค้าที่เชื่อใจไว้ใจยิ่งที่จะให้เราจัดการปรับปรุงระบบเสียงให้ แบบเต็มที่โดยขอให้รับปากว่าทุกอย่างของรถจะต้องทำงานได้สมบูรณ์ ทั้ง ระบบsensor ตรวจจับระยะรอบคันที่จะเตือนออกลำโพงในรถรอบคัน ทั้งเครื่องเล่นติดรถที่แสนจะ High technology อยู่แล้วคือ ต่อเชื่อมIpad แบบStreaming ได้เลยมีเครื่องเล่นDVD มาให้ครบแบบสะดวกสะบายมากเพียงแต่คุณภาพเสียงยังอยากให้ดีกว่าเดิม



จากที่เคยศึกษาและติดตั้ง Volvo มามาก จึงมั่นใจว่าจะทำได้สบายๆ ยิ่งปัจจุบันเรามี AudioProcessor หลากหลายยี่ห้อหลายรุ่นให้เราเลือกให้เหมาะสม




ผมเลือกเจ้า Helix DSP PRO ลงคันนี้เพราะจากSPECโรงงานที่ได้แจ้งมาคุยนักคุยหนาว่าเทพสุดๆ เลยอยากลองของว่ามันจะราคาคุยหรือไม่ เลยจัดการสั่งตรงมาจากตัวแทนในประเทศไทยคือ LKS (ลิมเกษม)


เมื่อเช็คระบบเดิมในรถตรวจสอบตำแหน่งของสายลำโพงจะครบถ้วนหน้าหลังแล้ว เราก็บรรเลยกันในการติดตั้งกว่า3วันครับ เมื่อเราเจาะจงว่าใช้เครื่องเล่นเดิมที่มากับระ หากเราจะทำให้คุณภาพของสัญญาณเสียงดีขึ้นก็ต้องจัดการเอามาผ่านเข้าไปยังHelix DSP PRO โดยใช้สัญญาณ  High Level Input ต่อเชื่อมเข้าที่กล่องDSP

แล้วฝั่งสัญญาณขาออกก็แยกทั้งหมด10Channel ไปยังเพาเวอร์แอมป์ที่ติดตั้งเข้าไปใหม่หมด โดยมีเพาเวอร์แอมป3ตัว 6Chของค่าย Mcintosh 4Ch ของClarion และ 2Ch ของ ค่ายSTEG  ไปขับลำโพง3ทางแยกชิ้นด้านหน้าของ ZR Speaker ลำโพงหลังจากค่ายFOCAL กับลำโพงเสียงเบสขนาด10นิ้วจาก SEAS







 ........จะเห็นว่านักเล่นแน่ๆครับที่เลือกใช้สินค้าระดับต้นๆของโลกแบบเลือกมาอย่างพิถีพิถ้น





เล่าเรื่องระบบแล้วเรามาเริ่มบรรยายให้ฟังครับว่า เจ้าDSPตัวนี้ จะแจ๋วหรือจบ วันนี้รู้กัน

ต้องยอมรับเลยว่าFirmware Software version3.03 ตัวล่าสุดนนี้ผมไม่เคยใช้งานเลย แต่พอลองเชื่อมต่อแล้วเปิดหน้า GUI ขึ้นมาศึกษา สิ่งที่เห็นชัดๆว่าโดดเด่นคือ  คนออกแบบสร้างเจ้าsoftware มาเพื่อมือโปรใช้เป็นหลัก เพราะหากท่านไม่เข้าใจถึงระบบอย่างถ่องแท้รับรองตกม้าตายแน่ๆ โชคยังดีที่สมัยย้อนไปซักยี่สิบกว่าปีก่อนผมดันบ้าเครื่องเสียงจนศึกษาเรียนรู้และทดสอบจริงๆจังๆจนได้ความรู้พื้นฐานที่ดีติดตัวมา ทำให้มันเป็นเรื่องไม่ยากเลยที่จะลองจูนจริงๆ


หน้าที่สำคัญอย่างยิ่งของเจ้า DSP คือ หน้า I/O ที่เราคนทำหน้าที่จูนจะต้องทราบและมีความรู้ลึกซึ้งในเรื่องระบบ ครับ หน้านี้จะเป็นส่วนที่ผู้ปรับจูนจะต้องเลือกและวาดระบบที่ท่านออกแบบให้ตรงและลงตัวกับDSP ทั้งฝั่งขาเข้า และขาออก ซึ่งท่านต้องทำการกำหนดให้เสร็จก่อนที่จะไปต่อเรื่องการเซทค่าความถี่และแบบของครอสโอเวอร์ฟิลเตอร์ ที่จะเลือกใช้ เพราะมันมีสารพัดชนิดมาให้เลือกจริงๆครบ
(ผมใช้เวลาในการทำความเข้าใจและปรับตั้งระบบให้ถูกต้องราวๆ30นาทีก็จบ)

หลังจากที่ทำการตรวจสอบการต่อเชื่อมการทำงานและความถูกต้องในการติดตั้งแล้ว ตรวจสอบPhase และChannel L/R เรียบร้อยไปแล้วนั้นเรามาเริ่มการจูนเสียงกันได้เลย


หน้าต่างนี้ เป็นหน้าMain ที่ใช้ในการจูนเสียงทั้งหมด ทั้งในเรื่องของ Crossover frequency , Crossover Slope , Crossover filter type, Time Alignment , Phase , Equalizer Gain , Equalizer Q , Equalizer 31Band ถ้าท่านสามารถเข้าใจทั้งหมดและใช้งานอย่างถูกต้องแล้วนั้น ใช้เวลาในการปรับจูน ราวๆ1ชั่วโมงก็เสร็จสรรพได้ครับ




บทสรุปที่ได้จากผมนั้น 

1. ณ.เวลานี้ มกราคม2558 ถือว่าเจ้าDSP PRO ตัวนี้ คุณภาพเสียงที่มันถ่ายทอดออกมานั้นดีที่สุด ในบรรดาAudio processsorที่ผ่านมือมาตลอด10ปี ผมไม่แปลกใจเพราะทางHelixนั้นพัฒนามานานมากๆครับกว่าจะออกจำหน่ายจริง

2. การใช้งาน นั้นจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องใช้มืออาชีพเท่านั้นในการจัดการกับมันอย่างเข้าใจ มิได้ออกแบบม่ให้ใครก็ได้อ่านๆแล้วลองมั่วๆไปครับ  ดังนั้นถ้าไม่แน่ใจว่าตัวเองสอบผ่านเรื่องระบบเสียงที่ซับซ้อนละก็ ไม่แนะนำให้ทำสุ่มสี่สุ่มห้าครับ

3. FunctionและFeature นั้นครบเครื่องถูกใจคนจูนมืออาชีพแบบผมมาก

4. ความเสถียร ความสมบูรณ์แบบ ทำได้เยี่ยมยอด ถึงแม้ว่าจะมับางการทำงานที่หน่วงเวลาราว5วินาที่ในการสั่งงานก็ตาม

5. ปัญหาต่างๆที่เจอบ่อยๆกับProcessor DSP ทั้งหลาย ไม่เจอกับเจ้าตัวนี้เลย ทั้งเรื่องของเสียงปุ้ก เสียงจี่ เสียงกวนทางelectronicทั้งหลาย ยังไม่พบในครั้งนี้เช่นกัน


จบปิดท้ายด้วยคำชมที่ว่า "ไม่เสียเวลาที่รอคอยหลายปี คุณภาพระดับเยี่ยมยุทธ เสียงเนียนน่าฟัง dynamic และ ความสมจริงทำได้ดีสุดๆ


###MICKEYMOUSE ยกนิ้วโป้งให้2นิ้วคู่เลยครับ ###



สนนราคาแถวๆ 5 หมื่นบาท ลองแล้วบอกเลยว่า คุ้มราคา ไม่ได้โม้





วันพฤหัสบดีที่ 5 กันยายน พ.ศ. 2556

การวัดแบตเตอรี่ ค่าCCA คืออะไร

การวัดแบตเตอรี่ ค่าCCA คืออะไร
การวัดค่าต่างๆในตัวแบตเตอรี่มีหลายค่าที่ต้องวัดเพื่อทราบถึงประสิทธิภาพของการทำงานของแบตเตอรี่ นอกเหนือจากการวัดค่าแรงดันไฟ Volatage no-load แล้วค่าอื่นๆก็มีความสำคัญเช่นกัน แต่ถ้าจะมาจำเพาะเจาะจงถึงเรื่องกำลังไฟสำหรับการติดหรือการสตาร์ทเครื่องยนต์ สิ่งที่สามารถบอกถึงประสิทธิภาพในเรื่องนี้คือ การวัดค่า CCA (Cool Cranking Ampere)
ค่า CCA ( Cool Cranking Ampere ) คือค่าที่บอกจำนวนกระแสไฟฟ้า ที่แบตเตอรี่ลูกนั้นๆสามารถส่งออกมาในระยะเวลา 30วินาที (ที่อุณหภูมิ 0 องศาฟาเรนไฮต์ ประมาณ -18องศาเซลเซียส) จนกว่าแรงดันไฟของแบตเตอรี่จะตกลงไปที่ 1.2 โวลต์ ต่อเซล หรือต่ำกว่า7.2โวลต์ ในกรณีสำหรับแบตเตอรี่ 12โวลต์ ด้วยเหตุนี้ แบตเตอรี่ 12โวลต์ที่มีค่า CCA 600 บอกเราคือแบตเตอรี่จะปล่อยกระแสไฟ 600แอมป์เป็นเวลา30 วินาทีที่อุณหภูมิ 0 องศาฟาเรนไฮต์ จนกว่าแรงดันไฟของแบตเตอรี่จะตกลงไปที่ 1.2 โวลต์ ต่อเซล หรือ7.2โวลต์
เมื่อค่าที่วัดได้ เปรียบเทียบกับค่าที่ระบุจากแบตเตอรี่ และจากผู้ผลิตรถยนต์ ไม่ตรงกัน อาจก่อปัญหาได้ เช่นถ้าค่าที่วัดได้ต่ำกว่าที่ผู้ผลิตรถยนต์กำหนดให้ใช้ อาจทำให้แบตเตอรี่ไม่มีกำลังพอที่จะสตาร์ทเครื่องยนต์ได้ ซึ่งเหตุการณ์เกิดได้บ่อยกับรถยนต์ที่ใช้แบตเตอรี่เป็นเวลานานและไม่มีการตรวจเช็คอย่างถูกต้อง ทำให้ต้องขอพ่วงไฟเพื่อสตาร์ทเครื่อยนต์จารถคันอื่นๆ
ตรวจเช็ครถยนต์ครั้งต่อไป อย่าลืมให้ช่างเช็คค่า CCA ของแบตเตอรี่เพื่อความสะดวก ปลอดภัยและความสบายใจในการใช้รถยนต์ทุกการเดินทางครับ
ข้อมูลจาก 3K V series

วันศุกร์ที่ 30 สิงหาคม พ.ศ. 2556

บทความน่ารู้ เกี่ยวกับ SPL , SQ or SQL

SPL  , SQ or SQL
โดย  : Mickeymouse   
EMMA International Certify Head Judge 2011 /  IASCA International Judge and Trainer2012
Owner :  SSS audio (Patanakarn53)
 
ทางใครทางมัน เป็นสิ่งที่ผมกำลังจะเล่าและบอกกล่าวให้ท่านผู้อ่านเข้าใจครับ  ว่า ตัวย่อสามตัว ที่เรากำลังจะพูดถึง มันมีความแตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง ดังนั้นคำว่า ทางใครทางมันที่ผมว่า คือ ใครชอบอะไรก็เดินไปทางนั้นให้ถูกทางครับ เพราะมันเป็นไปมิได้ว่า เราจะทำรถคันนึงให้ดีมันสามอย่างหรือ สองอย่าง .....ท่านเชื่อผมเถอะครับว่าทำได้อย่างเดียวจริงๆครับ
                ก่อนอื่นต้องอธิบายกันหน่อยครับว่า เจ้าตัวย่อสามตัวที่ว่ามันคืออะไร ?
ตัวแรก SPL ย่อมาจาก  Sound Pressure level ซึ่งก็คือระดับแรงดันเสียง  อธิบายกันง่ายๆคือ การเปิดเสียงในระดับความดังสูงๆ โดย ในการแข่งขันนั้น เราใช้วิธีการนำไมโครโฟนเข้าไปติดตั้งในรถ แล้วให้ผู้เข้าแข่งขันทำการเปิดระบบเสียงให้ได้ระดับความดังที่สุด โดยส่วนมากจะวัดโดยการปิดประตูรถทุกบานให้สนิท แต่ในบางรูปแบบก็มีการวัดแบบเปิดประตูให้เห็นเช่นกันครับ โดยไม่สนใจว่าผู้แข่งขันจะเปิดเพลง หรือ เปิดความถี่เสียงสังเคราะห์ ที่สร้างขึ้นมา ก็ได้ (ขึ้นอยู่กับค่ายผู้จัดการแข่งนั้นๆเป็นคนกำหนดครับ) การแข่งขันแบบนี้ คนส่วนใหญ่คิดว่ามันไร้สาระ ไม่มีประโยชน์ หรือลามไปด่าบิดามารดาเขาเข้าซะ โดยอันที่จริงนั้นประโยชน์ของการทำรถแบบนี้นั้นมันตกอยู่กับผู้ใช้รถที่ชอบฟังเพลงทุกคนครับ ทำไมเหรอ? ก็เพราะว่า คนทำรถประเภทนี้แทบทั้งหมดเป็นผู้ผลิตหรือประกอบลำโพงครับ มีประโยชน์มากมายในการวิจัยพัฒนาการทำตู้ลำโพงและการทำดอกลำโพงให้ดีขึ้น เมื่อก่อนท่านเห็นเขาติดตั้งลำโพงกันดอกใหญ่ๆ15นิ้ว18นิ้ว ในรถเก๋งคันเดียว แต่ได้เสียงเบสดังในระดับที่ท่านๆยังยืนบ่นได้ครับว่าหนวกหู  แต่ถ้าเอารถคันเดียวกันลำโพงขนาดเท่ากัน ในปัจจุบันมาทำ ผมรับรองได้ว่าท่านจะไม่บ่น เพราะว่า ท่านไม่สามารถยืนอยู่บริเวณนั้นได้ทันที่จะบ่นครับ เพราะระดับความดังแตกต่างกันหลายเท่าตัว สิ่งนี้เองที่เรานำมาทำลำโพงตัวเล็กๆในรถที่ท่านๆใช้กันวันนี้ ให้ได้เสียงเบสอย่างกับติดลูกใหญ่ๆเมื่อก่อน ลำโพงตัวเล็กนิดเดียวสามารถทำเสียงให้ดีและดังมากกว่าตัวใหญ่ๆครับ ทั้งเรื่องการผลิตลำโพงและการออกแบบตู้ลำโพงได้รับการพัฒนาแบบเต็มๆครับจากการแข่งขันแบบนี้  ดังนั้นการปรับจูนเสียงของรถประเภทนี้ คือการปรับจูนค่าความถี่ต่ำเท่านั้นครับ โดยยึดหลักว่า ความถี่ใดๆที่ตรงกับความถี่กำธร ในรถ เขาก็จะใช้ความถี่นั้นเป็นหลักในการทำรถ อันนี้เราไม่ต้งสนใจเพราะรถเขามิได้ทำมาเพื่อให้ท่านๆฟังกันครับ
 
ตัวที่สอง SQ ย่อมาจาก Sound Quality ซึ่งก็แปลว่า คุณภาพเสียง อันนี้เป็นการทำระบบเสียงในรถของท่านเพื่อให้มนุษย์อย่างเราๆท่านๆฟังกันให้ไพเราะเสนาะหู งานนี้กว่าจะจัดระบบและคิดขั้นตอนและวิธีการทำรถแบบนี้ได้นั้น ผมว่าเราใช้เวลาและประสบการณ์มามากกว่า50 ปีที่มนุษย์เราได้มีการคิดประดิษฐ์เครื่องขยายเสียงและลำโพงออกมาครับ  
                ความเพราะ ความไพเราะ เอาอะไรมาวัด ? นี่เป็นคำถามที่คนในวงการเครื่องเสียง วงการเพลง พยายามหาคำตอบและมาตรฐานมาวัดครับ จนวงการได้เกิดสถาบันที่จัดงานแข่งขันใหญ่ๆในโลกมามากมาย เริ่มตั้งแต่ยุคแรกๆที่เอาเครื่องมือมาวัดว่าเสียงดีหรือไม่ จนมีการปรับปรุงรูปแบบต่อเนื่องและแก้ไขให้มีความเหมาะสมและทุกฝ่ายเห็นด้วย คือ การ ที่มีทั้งการตรวจวัดด้วยเครื่องส่วนหนึ่ง ตรวดวัดด้วยหูคนส่วนหนึ่งและ เรื่องของความปลอดภัยในการติดตั้งอีกส่วนหนึ่ง โดยผู้ที่สามารถทำคะแนนรวมได้มากที่สุดจะเป็นผู้ชนะไป โดยก็มิได้หมายความว่าเป็นรถที่เสียงดีที่สุดในการแข่งขัน แต่เราจะเรียกว่าเป็นรถที่ทำมาเข้ากฎเกณฑ์และกติกาที่เป็นที่ยอมรับมากที่สุด เพราะสุดท้ายแล้ว เจ้าของชุดเครื่องเสียงชุดนั้นเองหละครับที่จะเป็นคนตัดสินใจว่าดีที่สุดสำหรับตัวเขาหรือยัง ดังนั้น หากท่านใดที่สนใจที่จะทำรถไปเพื่อแข่งขันไม่ว่าจะเป็นรายการใดก็ตามแต่ที่ท่านเชื่อถือ ผมให้ข้อคิดว่า แค่ได้ทำรถตามกติกาไปแข่งขัน ให้มีผู้ติชมชี้แนะถึงงานของเรา เพื่อเราจะได้กลับมาพัฒนา นั่นแหละครับคือสิ่งที่ท่านได้กลับไปและมีค่ายิ่งกว่าถ้วยรางวัลใดๆ เสียอีก ....ถ้วยรางวัลเป็นสิ่งที่แสดงให้ท่านเห็นว่า ความพยายามและการพัฒนาของท่านไปถึงจุดหมายได้ในวันหนึ่งและวันนั้นจะเป็นเครื่องมือในการนำไปสร้างชื่อเสียงและผลงานด้านการตลาดต่อไปครับ ...ดังนั้น การจูนรถประเภทนี้นั้น จะต้องให้ความสำคัญมากๆกับ น้ำเสียงที่สมจริงเป็นธรรมชาติ และต้องสร้างจำลองเวทีเสียงด้านหน้าให้ได้สมจริงที่สุด ขอย้ำครับว่า ในรถ ครับ ฟังในรถเท่านั้น ในตำแหน่งคนขับครับ หรือจะเป็นตำแหน่งใดในรถก็ตามแต่เจ้าของระบบเสียงนั้นจะต้องการ แต่จุดที่เพราะที่เป็น sweet spot นั้นก็มีจุดเดียวครับ แต่ถ้าหากท่านต้องการย้ายตำแหน่งSweet spot ให้ไปเพราะตรงที่อื่นในรถ ก็ทำได้ แต่ก็ครั้งละจุดเท่านั้นครับ การสร้างเวทีเสียงที่สมบูรณ์ เรายังไม่มีเทคโนโยลีใดในปัจจุบันที่ทำให้คนนั่งทุกคนฟังเวทีเสียงได้สมบูรณ์ครับ   การจูนรถแบบนี้แล้วไปฟังนอกรถก็ไม่ได้เรื่องครับ เพราะอย่างที่บอกว่ามันแต่ต่างกันสิ้นเชิง
 
ตัวที่สาม SQL ผมอนุมานเอาว่า ย่อมาจาก Sound Quality and Level  (แต่เคยเห็นบางท่านบอกว่า Sound Quality Loud) ซึ่งผมว่ามันเป็นประโยคที่ไม่ไพเราะครับ เลยขอใช้ของผมละกัน  ที่กล้าบอกว่าขอใช้ชื่อที่ผมเรียกก็เพราะว่า ผมเป็นหนึ่งในทีมงานห้าหกคนที่ช่วยกันคิดรูปแบบการแข่งขันนี้ขึ้นมาครับ โดยได้มีการปรึกษาแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับทีมผู้จัดงานแข่งในประเทศฟิลลิปปินส์ด้วย แล้วเห็นพ้องต้องกันว่าเราน่าจะมีการแข่งขันประเภทนี้ขึ้นมา  ตอนนี้ก็มีการนำไปจัดแข่งขันกันอย่างแพร่หลายครับ
SQL คือการทำรถโดยมีวัตถุประสงค์ต้องการให้ฟังเพลงนอกรถโดยมีทั้งเสียงที่ดังไปไกลได้และยังต้องได้คุณภาพเสียงที่ดีด้วยนั่นเอง การทำรถประเภทนี้ จะต้องจูนเสียงนอกรถ ยืนฟังนอกรถห่างไปซักอย่างน้อยๆ5เมตร จากรถ แล้วค่อยจูนเสียงให้ได้ความไพเราะพร้อมทั้งหากสามารถสร้างจำลองเวทีเสียงได้ด้วยจะยิ่งยอดเยี่ยมครับ ก็อย่างที่ว่าครับ ฟังและจูนนอกรถ มันมีสิ่งมากมายที่ต้องเผื่อเช่นเสียงเบสก็จะต้องมากกว่าปกติเพราะเราฟังในพื้นที่กว้างจะจูนเหมือนฟังในรถไม่ได้ครับ เสียงแหลมเสียงกลางก็จะต้องพุ่งไปไกลกว่าปกติเช่นกัน เมื่อเราจูนแบบนี้แล้วหวังที่จะไปฟังเพราะในรถละก็ ฝันไปเหอะครับ มันคนละม้วนกันเลย นอกเสียจากว่าท่านจะมีการจูนเสียงและ memory ไว้คนละแบบ ฟังในรถอันนึง ฟังนอกรถอันนึง แต่คงต้องลงทุนเพิ่มอีกมากโขครับถึงจะสนองความต้องการแบบนั้นได้
 
อันที่จริงแล้วนั้น การแข่งขันในปัจจุบัน มีรูปแบบมากมายให้เลือกเล่นครับ บางท่านที่ชอบสนุก ไปลงแข่งก็ได้ประสบการณ์ดีครับ ผมว่ามันสามรถสร้างสีสันให้วงการเครื่องเสียงนั้นได้มีกิจกรรมต่างๆ มีการจัดแข่งขัน มีการทำบุญร่วมกัน มีการไปช่วยชาวบ้านที่เดือดร้อน มีกิจกรรมดีๆเกิดขึ้นพร้อมๆกับมิตรภาพครับ  อย่าไปมัวเอาเป็นเอาตายกันนักเลยครับ แข่งเสร็จมีเพื่อเพิ่มขึ้นมีความรู้มากขึ้น ได้ทำสิ่งดีๆให้เกิดในสังคม คนที่จัดงานแข่งแบบนี้ ทั่วประเทศ ผมขอปรบมือให้ครับ จงรักษามาตรฐานดีๆ เอาไว้อย่าให้เสียไปครับ 

บทความเรื่อง ว่าด้วยการเรียนรู้ที่จะฟังความถี่ต่ำ ในชุดเครื่องเสียง(part1)


บทความเรื่อง ว่าด้วยการเรียนรู้ที่จะฟังความถี่ต่ำ ในชุดเครื่องเสียง
โดย  : Mickeymouse   
 EMMA International Certify Head Judge 2011 /  IASCA International Judge and Trainer







 
หลังจากที่ได้เขียนบทความเรื่องบทความพิเศษว่าด้วยเรื่อง ความถี่เสียงที่เกินขอบเขตการได้ยินของมนุษย์  ไปแล้วมีเสียงตอบรับมาค่อนข้างดีครับทั้ง e-mail ที่ผมได้รับจากเพื่อนๆในวงการ ทั้งร้านติดตั้งและทั้งผู้บริโภคว่า ชอบ และขอให้เขียนต่อเนื่องไป เลยมานั่งนึกๆดูว่า เราจะเล่าเรื่องอะไรกันต่อที่ต่อเนื่องจากหัวข้อก่อนนี้ได้บ้าง ก็เห็นว่า น่าจะเล่าถึงเรื่องราวของความถี่ต่ำในระบบเสียงกันครับ ว่า การฟังเพลงที่เขาเรียกกันว่า Hi-end ทั้งหลาย เขาฟังย่านเสียงต่ำกันยังไง เพราะผมเองเรียนตรงๆว่า ถนัดที่สุดก็เรื่องของการฟังและการปรับจูนเสียงในแง่มุมของนักฟัง Audiophile ครับ เพราะส่วนตัวเองนั้นสนใจและบ้าบอมาทางด้านนี้ ซะมากกว่าด้านอื่น เลยเป็นเหตุที่มานั่งเขียนเรื่องราวภาคต่อเนื่องในวันนี้ให้ท่านๆอ่านกันครับ
มาว่ากันเรื่องการฟังครับ การฟังเพลงแบบ Audiophile ที่ว่ากันนี่ เราเน้นไปที่ความสมจริง ของเสียง ทั้งในแง่มุมของความเหมือนของชื้นดนตรี ความเหมือนของเสียงองประกอบอื่นๆทั้งเสียงคนร้องนำ เสียงครอรัส เสียงปรบมือ ไปกระทั่งเสียงผิวปากที่ได้มีการบันทึกมาในแผ่นหรือแทรคนั้นๆ แต่การที่เราจะทราบได้ว่าอะไรเหมือน อะไรไม่เหมือน อะไรคล้ายคลึงไกล้เคียง อะไรที่ดีอะไรที่แย่จนรับไม่ได้ ย่อมต้องมาจากการเรียนรู้ที่จะไปฟังจริง ไปเสาะหาฟังของจริง ครับ ไม่ใช่เรื่องง่ายเพราะใช้ทั้งเงิน ทั้งเวลา ทั้งโอกาส แต่บางท่านก็เรียนลัดด้วยการไปขอฟังระบบที่มีคนยืนยันแล้วว่าดีจริงก็ได้ครับ เพราะในชีวิตประจำวันเราที่อยู่กันปกติ ไม่ว่าจะฟังจากลำโพงในทีวีที่บ้าน จากชุดเครื่องเสียงธรรมดาที่ห้อง หรือจะเป็นจากของแถมหูฟังจากโทรศัพท์smartphoneทั้งหลาย ก็แล้วแต่  นั่นเราเดาได้เลยครับว่า ส่วนใหญ่เป็นของธรรมดาราคาถูกๆ เมื่อเราฟังทุกวันจนชิน แล้วเราไปขอฟังระบบที่เรียกว่าดีๆ ซักครั้งแค่นั้นเองผมก็เชื่อว่าท่านรู้ได้ถึงความแต่ต่างอย่างลิบลับของของดีกับของห่วยแล้วครับ  ต่อมาเมื่อเราจะพูดถึงว่า เมื่อรู้แล้วว่าของดีของห่วยต่างกันแล้วหากอยากทราบว่า ของดีๆเนี่ยมันยังมีดีกว่าเหนือกว่าแพงกว่า เขาจะรู้ได้อย่างไรว่าอะไรดีกว่ากัน ทีนี้หละครับ ต้องมาพูดกันยาวแน่นอน เพราะว่าจะต้องมานั่งจับผิดกันแล้วหละว่าเสียงจากอันไหนเหนือกว่าอันไหนเพราะอะไร ก็เลยต้องติดตามผมต่อไปครับว่าจะเอาอะไรมาเล่าให้ท่านฟังกันบ้าง
ผมขอพูดในเรื่องของความถี่ย่านต่ำกันก่อนแล้วกัน เหตุผลหนึ่งก็คือ มีเครื่องดนตรีที่ทำงานย่านความถี่ต่ำไม่มากมายนักครับ ความถี่ต่ำที่จะพูดในวันนี้คงจะอยู่ราวๆตัวเลขที่ ไม่เกิน 60Hz ที่เราจัดมันไว้ในหมวด กลุ่มSubBass ครับ ความถี่ตั้งแต่เริ่มต้นที่แถวๆ20-60Hz มีเครื่องดนตรีน้อยชิ้นมากครับที่สามารถทำงานได้ พวกกลุ่มเครื่องสายแทบจะไม่มีเลย เครื่องเคาะย่างกลองก็ต้องเป็นกลองตัวใหญ่ๆครับ ไอ้กลองกระเดื่องในกลองชุดที่เห็นๆกันยังแทบจะทำไม่ได้เลยครับ  เรามายกตัวอย่างเท่าที่นึกได้กันครับว่ามีเครื่องดนตรีอะไรบ้างที่สร้างเสียงช่วงดังกล่าวนี้ได้ ก็มี Double Bass  มี Timpani มี Pipe Organ ครับ โดยท่านสามารถอ้างอิงได้จากตารางความถี่ด้านล่างนี้ครับ


ที่มา จากweb  http://www.independentrecording.net




จากที่ท่านเห็นในรูปครับว่า ชิ้นดนตรีที่สามารถลงมาแตะช่วงแถบสีน้ำตาลอมแดง มีน้อยมากๆครับ หากท่านใดสนใจสามารถเข้าไปsaveมาเป็นความรู้ได้ที่เวปใต้ภาพครับรูปนี้เท่าที่เคยมีคนทำมาผมว่าดูง่ายและครบถ้วนที่สุดครับท่านที่ชอบฟังเพลงไม่ควรเอาไว้ห่างตัวครับ ส่วนผมเองก็ถือโอกาสนี้เองค่อยๆใช้การอ้างอิงจากภาพประกอบนี้ไปจนจบเรื่องความถี่เสียงและชิ้นดนตรีครับ เพราะประโยชน์ของมันมากมายมหาศาลครับ คอยดูต่อไปละกัน
จากตารางท่านเห็นว่า มีเครื่องดนตรีเพียง7ชนิดที่สามารถลงความถี่ย่าน SubBass ได้ครับ เท่าที่เป็นที่นิยมและรู้จักกันนะครับ  ที่นี้หละพอท่านมองเห็นภาพเข้าใจแล้ว เราก็สามารถพูดกันต่อเรื่องของการฟังความถี่ต่ำได้ว่าอะไรสมจริงอะไรดีไม่ดีอย่างไร  เรามาไล่เรียงกันทีละชิ้นดนตรีครับ เริ่มด้วยล่างสุดคือ Pipe Organ ที่เรากล่าวถึงกันบ่อยมากๆ ก็เพราะน่าจะเป็นเครื่องดนตรีเดียวเลยครับที่สามารถลงความถี่ได้ถึง 20Hz แบบที่เป็น Fundamental เลย และมี range ความถี่ที่ กว้างที่สุดของเครื่องดนตรีเพราะสามารถครอบคลุมตั้งแต่20Hz ไปจนเกือบ 10KHz เลยจะเทียบเคียงกันได้ก็คงต้องเป็น Piano ที่มี88Key ขึ้นไปครับ ถึงจะทำได้สูสีกัน แต่pianoเองนั้นก็ไม่สามารถให้พลังออกมาในย่านต่ำได้เท่า Pipe Organ ครับ  จากข้อมูลดังกล่าวผมแนะนำให้ท่านไปหาฟังpiano หรือpipe Organ ครับเพราะดูจะหาฟังได้ไม่ยากเย็นเหมือนชิ้นดนตรีอื่น อย่างพวก Harp หรือ Contrabassoon ที่ยิ่งหาฟังยากกันไปใหญ่ แล้วก็ไม่มีใครมาเล่นเดี่ยวๆให้ฟังแน่แท้  จึงหนีไม่พ้น Piano กับ Pipe Organ แน่นอน เพราะเล่นเดี่ยวๆได้ หาฟังกันได้ครับ ถ้าจะลองตามlobbyโรงแรมดีๆ ก็มี piano แจ๋มๆ แต่ถ้าPipe Organ คงต้องไปหาโบสถ์ใหญ่ๆที่มีทุนทรัพย์พอที่จะซื้อมาใช้ ไม่แน่ใจว่าโบสถ์วัฒนา หรือ กรุงเทพคริสเตียนจะมีหรือไม่ครับ ใครทราบส่งข่าวกันด้วยได้ครับเพราะราคาค่าตัวเป็นล้านทั้งนั้นเลย บ้านเรามีไม่มากนักแต่ทางมาเลเซีย ฟิลิปปินส์ มีให้ฟังถมเถ หรือท่านไหนจะบินไปหาฟังแถบยุโรปเยอรมันประมาณนั้นก็ตามสะดวกครับ  พอไปหาฟังกันบ่อยๆเข้าก็จะได้รู้ครับว่าความเหมือนจริงเป็นเช่นไร แล้วไอ้ชุดเครื่องเสียงที่ท่านมีอยู่มันดีหรือห่วยอย่างไรท่านจะทราบเองโดยที่ผมไม่ต้องบอกครับ  เอาหละครับ หน้ากระดาษหมดแล้วฉบับนี้ อย่าลืมจำรูปความถี่เสียงที่ผมนำมาให้ดีนะครับเพราะเราจะใช้กันอีกนาน   ไว้เจอกัน (part2)ต่อนะครับท่านๆ


 
พบกันที่     www.facebook.com/sssaudio