วันอาทิตย์ที่ 8 มีนาคม พ.ศ. 2558

test report AUDIOFROG USA GB Series 2 ways Component Set

  ทดสอบ AUDIOFROG  GB SERIES COMPONENT SET                    
  Date : 3 FEB 2015(THAILAND)
  โดย :  MICKEYMOUSE


AUDIOFROG GB SERIES




Concept Design ชัดเจนในการเป็นลำโพง Super Hi-End ที่ออกแบบเข้ายุค Modern Classic Design

ผมได้ข่าวการรวมตัวกันของบุคคลระดับกูรูในวงการเครื่องเสียงรถยนต์อเมริกันมาพักใหญ่ ว่ากำลังร่วมกับผลิตลำโพงภายใต้ยี่ห้อใหม่ออกมาก็ราวปีกว่าๆที่ผ่านมาครับ  แต่ก็มิได้ติตามไกล้ชิดมากมายนักจนได้เจอข้อมูลในโลก Cyber ว่า มีลำโพงรถยนต์ค่ายใหม่กำลังจะเปิดตัวในงาน CES 2015 ที่ผ่านมานี้ และยังไปเจอะเจอะอีกว่า เพื่อนเก่าที่เคยทำงานตัดสิน IASCAด้วยกันที่ประเทศจีน คือ นาย แกรี่ บิ้กซ์ ( Mr.Gary Biggs) นี่หละที่เป็นหนึ่งในผู้ก่อตั้ง ซึ่งหากย้อนอดีตกลับไปคงต้องเล่าให้ฟังว่า ก่อนหน้านั้นผมเองได้เคยไปตัดสินรถคันที่นาย Gary ติดตั้งระบบเสียงตอนที่ไปอยู่กับค่าย JBL ใหม่ๆ และยังได้มีโอกาสเจอะเจอกันบ่อยๆครับในประเทศไทยเมื่อช่วงที่เขาโด่งดังจากการแข่งขันระดับโลกติดต่อกันหลายสมัย เอาว่าเล่าให้เพื่อนๆฟังกันคร่าวๆให้พอทราบกันว่า คนร่วมออกแบบพัฒนาลำโพงตัวนี้ ไม่ธรรมดาแน่นอน 


คุณGary ได้คุยกับผมทาง Facebook และเล่าให้ฟังว่า ลำโพงชุดนี้ถือว่าเป็นความภูมิในที่สุดในชีวิตที่ได้สร้างกันกับทีมงาน เพราะว่า เป็นลำโพงที่ได้ทำในสิ่งที่ตนคิดจากประสพการณ์ที่ผ่านมาหลายสิบปี จนออกมาเป็นสินค้าจริงและได้คุณภาพอย่างที่ตั้งใจจริงๆไม่ติดรื่องของต้นทุนและงบประมาณเพราะที่นี่ยอมให้เขาได้ทำสิ่งที่ดีที่สุดที่เขาต้องการตั้งแต่ต้นจนจบ




          การออกแบบโครงสร้างลำโพงไปจนถึงรายละเอียดความงดงามของตัวผลิตภัณฑ์ภายนอกสุดยอดความลงตัว


ที่ผมเห็นว่าเป็นสิ่งที่สะดุดความสนใจของผมที่สุดก่อนที่จะได้ทดลองฟัง ก็คือ การออกแบบตั้งแต่โครงสร้างDriverลำโพง การออกแบบอุปกรณ์ชิ้นเล็กชิ้นน้อยในการช่วยให้งานติดตั้งง่ายขึ้น  อีกทั้งการออกแบบหน้าตาของกรอบฝาครอบที่แสนจะงดงามดูย้อนไปในยุคราวๆ70 ถึง 80 ที่การ Design รถยนต์ และสินค้าต่างๆจะไปในแนวทางผสมผสานทั้งความคลาสสิคในยุคเก่า และความทันสมัยในยุคปัจจุบันเข้าด้วยกันอย่างลงตัวนี่คือสิ่งที่เราเรียกว่า  Modern Classic Design  ลองนึกภาพว่าเวลาลงมาติดตั้งในรถของเรายุคนี้ มันจะดูงดงามดูผู้ดีมีรสนิยมดีจัง  ท่านอาจสังเกตุได้ชัดเจนจากตัวฝาครอบลำโพงแต่ละตัวที่ออกแบบมาได้สวยงามมากๆในความคิดผม จากภาพประกอบที่นำมาให้ชมท่านจะเห็นความพิถีพิถันในการออกแบบทุกชิ้นตั้งแต่ Passive Crossover ทั้ง ลำโพงทั้งสามขนาดที่ผมได้รับมาทดสอบ  Driver เสียงแหลม เสียงกลาง และ เสียงต่ำ ไม่ใช่การจับลำโพงจากโรงงานโน้นนี้มารวมกันขายเราแบบง่ายๆ แต่เห็นได้ชัดเจนว่า มาจากการออกแบบภาพรวมและเลือกที่จะสร้างชิ้นงานทุกชิ้นขึ้นมาเฉพาะ ขึ้นรูปขึ้นโมล์ดใหม่กันทั้งหมด เพื่อการสร้างความแตกต่างทั้งในแง่ของคุณภาพเสียงไปจนถึงความต่างทางด้านการตลาด งานนี้ไม่ได้ลงทุนกันน้อยๆแน่นอนครับ  
หลังจากที่เราได้ติดต่อกันก่อนที่จะมีการเปิดตัวสินค้าในงาน CES ทางคุณแกรี่ ได้แจ้งผมมาว่า ขอเจาะจงให้ผมเป็นผู้ทำการทดสอบสินค้าชิ้นนี้เป็นคนแรกในไทย ด้วยความมั่นใจว่าจะให้คำแนะนำและวิจารย์กันแบบตรงๆในฐานะเพื่อนเพื่อจะได้นำไปปรับปรุงผลิตภัณฑ์และทราบจุดเด่นจุดด้อย จึงได้ส่งชุดลำโพงสำหรับการทดสอบเสียงชุดนี้มาผ่านทางบริษัทตัวแทนจำหน่ายในประเทศไทย ซึ่งก็คือ ค่าย มหาจักรดิวิลอปเม้น ซึ่งทางผู้บริหารได้ติดต่อประสานและส่งให้ผมมาทำการทดสอบครับ
ผมได้รับลำโพงมาราวๆ1เดือนแล้วและทำการลงตู้เพื่อเบรินอินก่อนโดยไม่ได้ไปฟังเสียงซักเท่าไร จนคิดว่าน่าจะพร้อมแล้ว เลยจัดการนำมาทดสอบให้ท่านๆเพื่อนๆพี่ๆน้องๆในวงการได้อ่านกันครับ



 


การทดสอบจริงเกิดขึ้นในห้องที่ผมเพิ่งทำการSet up ใหม่ในบ้าน กับชุดเครื่องเสียงที่พยายามสะสมไว้มานาน
เริ่มต้นด้วยระบบง่ายๆดิบๆ ในบ้านคือ ตัว เพาเวอร์แอมป์แบบมีreceiver ในตัวยุคโบราณ คือ PIONEER  MODEL SX 424  น่าจะอายุอานามมากว่าผม คือ เกิน40ปีแล้วแน่นอน ต่อตรงเข้ากับชุดลำโพง Audiofrog GB series แบบ2 ทางผ่านPassive crossover ที่ส่งมาพร้อมกันรุ่น GB2510C ทีแรกคิดไว้ว่า แอมป์จะขับออกหรือไม่ไม่ค่อยมั่นใจครับ แต่พอเปิดเสียงเท่านั้นหละ บอกได้เลยว่า perfect match จริงๆ ใช้volume ไม่ถึง40% ก็ดังเหลือเฟือ ขนาดหรี่ลงไปราว 20% รายละเอียดชิ้นดนตรีและไดนามิคยังครบถ้วน สิ่งแรกที่ประทับใจ จากการเปิดแผ่น Jazz คือ เครื่องเป่าทองเหลืองทั้งหลายพวก Saxophone  ทำได้หวานจับใจจริงๆครับ  เอาว่าหวานละมุนจนเคลิ้มเลย  ตลอดเวลาที่อยู่ในวงการนี้ผมไม่เคยเจอแน่ๆครับกับลำโพงอเมริกันออกแบบที่ทำได้หวานยังกับเครื่องเสียงหลอด แต่ความละเอียดของชิ้นดนตรียังครบถ้วนชัดเจนสมจริง  แถมด้วยเสียงชิ้นดนตรีย่านปลายแหม พวก tri angle พวกเครื่องเคาะโลหะที่ประกายสวยงามไม่กระด้างหู อีกทั้งความเหมือนจริงแบบที่ถ้าเป็นงานแข่งทำได้แบบนี้คะแนนเสียงคงเกิน19แน่ๆ 
ต่อมามาฟังกลุ่มเสียงร้องกันบ้างว่าช่วงรอยต่อของCrossover กับเสียงที่ทำงานระหว่างdriver ตัวแหลมกับwoofer เป็นยังไง โดยเอาเพลงร้องหลากหลายแนวมาเปิด ทั้งแผ่นแข่งขัน ที่มีฟังจนคุ้นหู ทั้งแผ่น Andrea ที่เน้นเสียงร้องในแนว Italian classic ที่โชว์พลังมากมาย ผลออกมาได้ยอดเยี่ยมครับ ทั้งความสะอาดไม่คลุมเครือไม่อุดอู้ ผสมกับเนื้อร้องย่านต่ำที่ทำได้ไม่หนาเกินไปแถมด้วยความอบอุ่นลงตัว  งานนี้ บอกเลยว่า เกินคาดเดามาก ไม่คิดว่าเขาจะทำได้ดีแบบนี้  ผมเองลองกลับมาเปิดผ่านแผ่นที่บันทึกธรรมดาๆหน่อย แบบKOH  Mr.Saxman ชุดโปรดที่ฟังในรถบ่อยๆ  สิ่งที่ได้มากขึ้นแบบไม่ต้องนั่งจับเลยคือ ความสมจริงยังกับตัวจริงมายืนเล่น มายืนร้องให้ฟังในห้องนอนเลย  ว้าวววว   พระเจ้า มันยอดมาก ตกลงมันเป็นเพราะลำโพงคู่นี้ หรือเพราะเจ้า แอมป์โบราณกันแน่   แบบนี้สงสัยต้องลองเปลี่ยนลำโพงชุดอื่นมาลองครับ   จะได้หายสงสัย  ขอเวลาอีกวันสองวันไปทำการเอาลำโพงตัวอื่นในระดับราคาซัก 2หมื่นบาท มาลองกันว่า จะเป็นยังไง  ปรากฏว่า แตกต่างกันแบบฟ้ากับเหวครับ  ถึงแม้ว่า ลำโพงที่นำมาลองจะออกอาการดีกว่าที่เคยฟังก็ตาม แสดงว่าเจ้าแอมป์ตัวที่ผมได้มาลงในห้องนี้ก็ไม่ธรรมดาเลย  แต่ลำโพง Audiofrog คู่นี้ก็ทำได้เทพจริงๆครับ เป็นอีกหนึ่งลำโพงที่จะต้องกลายเป็นตำนานเทพเจ้าไปอีกยาวนานแน่นอนครับ ผมเองไม่แน่ใจว่าในยุคเศรษฐกิจบ้านเราเป็นแบบนี้ จะมีการนำเข้ามาจัดจำหน่ายและประชาสัมพันธ์ยี่ห้อแบบจริงจังแค่ไหน หรือจะมีคนรู้จักในวงกว้างแค่ไหน........
แต่หากท่านที่ได้อ่านบทความทดสอบชิ้นนี้ของผม ผมเอาหัวเป็นประกันได้เลยว่า เป็นอีกสุดยอดชุดลำโพงที่ตอบสนองได้ทั้งคอ Hi-Endได้สุดติ่ง และด้วยระดับความไวสูงแต่รองรับกำลังขับสูงๆได้ด้วย ทำให้ลำโพงชุดนี้สามารถทำแนวเสียงให้สนุกและมีระดับความดังสูงๆได้ด้วยแบบไม่เพี้ยน  ลำโพงอเมริกันที่ได้เคยทดสอบมาร่วมๆยี่สิบปีที่ทำงานด้านนี้มา มีเพียงสองยี่ห้อที่ผมประทับใจ  แต่ หนึ่งในนั้นที่ประทับใจที่สุดตอนนี้ ฟันธงได้เลยว่า AUDIOFROG ครับเพื่อนๆ 












SPECIFICATIONS
Nominal Impedance: 4 Ω
RMS Power Handling: 100 W (with recommended crossover)
Peak Power Handling: 300 W (with recommended crossover)
Frequency Response (-3 dB): 150 Hz – 24 kHz
Crossover Frequency: 3.2 kHz
Low Pass Filter: 2nd Order
High Pass Filter: 3rd Order
Recommended Amplifier RMS Power Range: 20 W – 100 W
Recommended High Pass Filter Frequency and Slope: ≥ 200 Hz, ≥ 12 dB/oct
Reference Tweeter Level Setting: -3 dB
Air Core Coils.
Polypropylene Capacitors
Wire-Wound Resistors
L-Pad Tweeter Adjustment Circuit
Tweeter Adjustment Scale Marked in 1/4 dB Increments
Screw TerminalsCast Aluminum Chassis