วันศุกร์ที่ 30 สิงหาคม พ.ศ. 2556

เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับ วัสดุซับเสียง DAMPING MATERIAL (PART1)

เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับ วัสดุซับเสียง DAMPING MATERIAL (PART1)







วัสดุซับเสียง ที่มีจำหน่ายและติดตั้งกันอย่างแพร่หลายในกลุ่มร้านติดตั้งเครื่องเสียง ในบ้านเรานั้น มีเริ่มต้นมาจริงๆก็ราว15-20ปีก่อนครับ เริ่มกันจากแผ่นลดการสะเทือนของตัวถังรถ ที่มีค่ายดังในอดีต คือ DYNAMAT  จาก สหรัฐอเมริกา แต่ในยุคนั้นเรียกว่ามิเป็นที่แพร่หลายและนิยมมากนัก ด้วยอาจเป็นการขาดการให้ความรู้ทางวิชาการแก่ผู้บริโภคมากพอ หรือด้วยสาเหตุที่ติดตั้งยาก มีกลิ่นแรง รวมทั้งไม่ค่อยทนทานในสภาพอากาศร้อนๆอย่างบ้านเรา ซักเท่าไรนัก จนมีผู้นำเข้าและจัดจำหน่ายรายหนึ่ง ที่สามารถพลิกกระแสความนิยมของเจ้าแผ่นวัสดุซับเสียงเหล่านี้ให้เป็นที่นิยมแพร่หลายในวงกว้างมากขึ้น ชนิดที่ว่า ร้านเครื่องเสียงที่เน้นขายฝีมือ มักจะมีจำหน่ายและติดตั้งแทบทุกรายจนได้ โดยได้แพร่หลายอย่างยิ่งในราวๆปี 2540 เป็นต้นมา ชนิดที่ว่า ผู้จัดจำหน่ายรายนั้น แทบจะไม่ต้องสนใจที่จะขายสินค้าอื่นๆในกลุ่มเครื่องเสียงไปเลยครับ เพราะแทบจะเป็นรายเดียวที่ครองตลาดสินค้าแบบนี้มากกว่า70%เลยกว่า15ปีที่ผ่านมา จนเมื่อราวๆ5ปีที่ผ่านมานี้เองที่เริ่มจะมีคู่แข่งสินค้าประเภทเดียวกันมาทำการตลาดแบบจริงจังจนได้ส่วนแบ่งทางการตลาดป้างพอสมควร แต่หากให้ผมเองเดาจากการคาดการส่วนตัว ผมก็ยังคิดว่าเขาก็ยังคงได้ส่วนแบ่งทางการตลาดไปมากกว่า40% อยู่ดีครับยี่ห้อดังที่ผมกล่าวถึงนั้นคือ American Dynamic นั่นเองครับ จากเหตุการณ์ที่เล่ามานี้เอง เป็นเหตุให้ผมขอหยิบยกเรื่องราวของเจ้าอุปกรณ์ซับเสียงแบบต่างๆที่มีจำหน่ายในปัจจุบันมาเล่าให้ท่านผู้อ่านทราบไปด้วยกันวันนี้ครับ
มาเริ่มกันที่ประเภทของวัสดุซับเสียงกันก่อน
ชนิดแรก ที่นิยมกันแพร่หลายมากที่สุด ก็คือ SOUND DEADENING หรือ เรานิยมเรียกว่า VIBRATION DAMPING ซึ่งเจ้าVIBRATION DAMPING นี้เองนั้นตัววัสดุที่ใช้ผลิตในทางอุสาหกรรมนั้นเรียกว่า MASTIC BUTYL  RUBBER 

ซึ่งก็มีหน้าตาคุ้นๆหน้ากันอยู่ไม่กี่แบบครับ โดยหน้าที่หลักของเจ้าวัสดุนี้คือ เมื่อทำการแปะลงไปบนพื้นผิวที่ต้องการ มันจะช่วยละการสั่นกระพือของตัวพื้นผิวนั้นๆลงไปมากตามความหนาของเจ้าวัสดุนั้นๆครับ เจ้าVIBRATION DAMPING นี้เอง ที่ช่วยแก้ปัญหาเสียงกระพือของตัวถังรถ แถมด้วยทำให้ห้องโดยสารเงียบขึ้นบ้าง กับอีกหนึ่งเด้งคือ ลดความดังของเสียงความถี่ต่ำจากภายนอกได้อีกบางส่วน ดังนั้นเราจึงเห็นร้านเครื่องเสียงมักจะติดตั้งเจ้าตัวนี้ให้เราจนชินตากันครับ แต่ก็มิใช่มีแต่ประเภทแผ่นอย่างเดียวเท่านั้นครับ ยังมีอีกประเภทที่เป็นแบบทาหรือแบบพ่นครับ ผมหาภาพตัวอย่างมาให้ชมกันครับ 



ชนิดที่สอง ที่เราอาจจะไม่ค่อยได้เห็นกัน แต่สำหรับร้านเครื่องเสียงประเภทใส่ใจเรื่องรายละเอียดก็มักจะมีครับ คือ เจ้าSOUND PROOFING FOAM ผมยกตัวอย่างมาให้ดูกันสองแบบที่น่าจะพอคุ้นตากันบ้างครับ คือ EGG BOX PROFILE FOAM ที่มีหน้าตาเหมือนรังไข่และอีกแบบคือ NOISE STOP FOAM ที่จะเป็นแผนเรียบๆด้านนอกแต่มีรุพรุนด้านใน เจ้าสองตัวนี้ จะช่วยมากในแง่ของการ SOUND BLOCK  ไม่ให้เสียงจากภายในออกไปภายนอกและไม่ให้เสียงจากภายนอกเข้ามาภายในห้องโดยสาร เจ้าตัวนี้เองครับที่ทำให้รถเงียบตัวจริงเลยครับโดยที่อย่างต่ำๆสามารถลดระดับความดังในห้องโดยสารลงได้ถึง 20dB เลยครับ หากติดตั้งอย่างถูกต้อง


ส่วนอีกชนิดหนึ่งที่เรายิ่งเห็นน้อยกันไปใหญ่ เขาเรียกว่า CONTACT DAMPING ครับ เจ้าประเภทนี้ ไว้ใช้ทำอะไร ท่านผู้อ่านคงสงสัยครับ จากชื่อก็แจ้งเลยว่า ใช้บริเวณจุดต่อระหว่างวัสดุชิ้นหนึ่งกับอีกชื้นหนึ่ง เช่น ช่องว่างระหว่างยางขอบประตูรถกับเหล็กตัวรถ เมื่อปิดประตูแล้วสังเกตจะเห็นว่ามีช่องโหว่เล็กๆอยู่ครับท่านจึงได้ยินเสียงลมเข้ามาให้รำคาญเล่นเวลารถวิ่ง วิธีแก้ไขเพียงแต่ท่านเอาเจ้าCONTACT DAMPING นี้ตัดเป็นเส้นๆแล้วปะไปบริเวณรอยต่อนั้นๆ เมื่อปิดประตูเจ้าCONTACT DAMPING

มันจะยุบตัวเข้ารูปตามร่องจะไปทำการอุดรูรั่วเหล่านั้นครับ  ทีนี้เวลารถวิ่งด้วยความเร็วท่านก็จะยังคงเงียบไม่มีเสียงลมเข้าดังวี้ดๆให้น่ารำคาญแล้วครับ  อันที่จริงยังมีรายละเอียดยิบย่อยของเจ้าวัสดุประเภทต่างๆอีกมากครับ เช่น วัสดุซับเสียงที่ติดตั้งด้านหลังของตัวลำโพง ที่จะเป็นการแก้ปัญหาเฉพาะจุดเฉพาะที่ และวัสดุประเภท กระจายคลื่นความถี่ ลดเสียงสะท้อน โดยผมก็จะทยอยๆนำมาแนะนำให้ในตอนต่อๆไปนะครับ อีกทั้งหลังจากบทความต่อเนื่องชิ้นนี้ออกไปให้อ่านกัน เราจะมีการทยอยทดสอบผลิตภัณฑ์ประเภทนี้โดยส่งเข้าLABS TEST ของเราอย่างละเอียดยิบต่อไปครับว่าค่ายไหนมีคุณสมบัติดีเด่นอย่างไร เพื่อให้ท่านได้เป็นข้อมูลสำหรับการเลือกซื้อได้ด้วยอีกทางครับ อย่าลืมติดตามกันตอนต่อนะครับพ้ม

ราตรีสวัสดิ์ครับ ชาวโลก
MICKEYMOUSE

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น