เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับ วัสดุซับเสียง DAMPING
MATERIAL (PART2)
จากฉบับที่ผ่านมาเราได้มีการกล่าวถึง
วัสดุซับเสียงประเภทต่างๆให้ท่านผู้อ่านทำความเข้าใจตามกันไปแล้วในเบื้องต้นนะครับ
จากข้อมูลที่ให้ไปนั้นท่านพอจะแยกแยะวิธีการใช้และประโยชน์ของแต่ละประเภทได้หรือไม่ อย่างไรก็ตามครับ ในฉบับนี้เราจะมาแนะนำกันว่า
หากท่านมีรถคันหนึ่งต้องการปรับปรุงประสิทธิภาพของการป้องกันเสียงรบกวนจากภายนอกเข้ามาและไม่ต้องการให้เสียงจากภายในรถเช่นเสียงของเครื่องเสียงที่ท่านสู้อุตส่าห์ลงทุนเสียสตางค์ไปมากไม่ให้ออกไปเผื่อแผ่รถคันข้างๆ
หรือแม้กระทั่งรถประเภทพลังเสียง ที่ต้องการให้ตัวถังของรถนั้นนิ่งเพื่อเพิ่มระดับความดัง
ก็สามารถทำได้ด้วยการติดวัสดุซับเสียงให้ถูกต้องและเหมาะสมครับ
STEP ที่1 เริ่มด้วย
หากท่านผู้ใช้รถต้องการเพียงแค่
ลดเสียงลมที่มักจะลอดเข้ามาในขณะที่รถเราวิ่งด้วยความเร็ว
ซึ่งเดิมอาจจะมีเสียงน่ารำคาญดัง วี้ วี้ ยิ่งวิ่งเร็วยิ่งดัง อาการดังกล่าวนี้
เกิดขึ้นได้กับรถทั้งเก่าและใหม่ครับ แต่รถเก่าอาจจะเจอมากกว่าครับ
เนื่องด้วยของยางที่โรงงานติดตั้งมาปกติ เมื่อเวลาผ่านไปโดนทั้งความร้อนทั้งฝน
จนยางเหล่านั้นเริ่มแข็งจนไม่แนบสนิทกับตัวรถ ลมจึงแทรกเข้ามาได้ง่ายๆเลย
นอกจากการแก้ไขที่ต้นเหตุ คือ ควรเปลี่ยนยางขอบประตูทุกๆสามสี่ปี ครับ
แต่นอกจากนี้เรามีวิธีที่ทำให้เงียบยิ่งกว่าเดิม โดย ไม่ได้ใช้เงินมากมายเลย
เพียงท่านติดตั้งวัสดุซับเสียงประเภทที่เรียกว่า CONTACT DAMPING เข้าไป เสริมที่ยางขอบประตูก็จะช่วยได้มากครับ
และยังมีอุปกรณ์ที่เป็นที่นิยมมากๆในขณะนี้
เป็นขอบยางที่ผลิตมาพิเศษเพื่อติดตั้งเพิ่มที่ช่องว่างด้านในทำให้เสมือนเรามีขอบยางสองชุดกันลมเข้ามาได้แบบเงียบสนิทจริงๆเลยครับ
ลองหาข้อมูลเพิ่มเติมกันได้ที่ WWW.STUFFIT.CO.TH ได้เลยครับ
รับรองเลยว่าไม่ผิดหวัง พวกเราแนะนำกันไปติดตั้งจนแพร่หลายในกลุ่มนักเล่นเครื่องเสียงอยากมากครับตอนนี้
(ใช้งบประมาณส่วนนี้ ราว1-2พันบาทเท่านั้นครับ)
STEP ที่2 ขั้นตอนต่อไปที่เพิ่มงบประมาณอีกก้อน
แต่ประโยชน์มีมากมาย หากท่านผู้อ่านสังเกตเวลาขับรถ หรือนั่งรถไป ยิ่งเวลาวิ่งทางยาวๆ
ท่านจะได้ยินเสียงยางรถยนต์ที่บดเสียดสีกับถนนแล้วก้องสะท้อนที่ซุ้มล้อทั้งสี่
จนมีเสียงอื้ออึงเป็นความถี่ต่ำๆ อันนี้ก็น่ารำคาญไม่แพ้กันกับเสียงลมครับ
เพียงแต่ว่า เสียงลมมันเป็นความถี่สูง
แต่เจ้าเสียงยางรถยนต์บดกับพื้นถนนนั้นเป็นความถี่ต่ำ
ความถี่ต่ำเหล่านี้เป็นอุปสรรคมากๆสำหรับการฟังเพลงหรือการคุยกันในรถ
รถคันไหนที่เวลาวิ่งเร็วๆแล้วคนในรถต้องแทบจะเรียกว่าตะโกนคุยกัน
นั่นคืออาการของเสียงรบกวนประเภทนี้ครับ ......วิธีแก้จุดนี้ คือ การทาหรือพ่น
น้ำยาลดเสียงสะท้อนเสียงรบกวนที่ซุ้มล้อทั้งสี่ครับ หรืออาจใช้เจ้าแผ่น
VIBRATION DAMPING แปะเข้าไปก็ยังได้ครับ
แต่ด้วยตำแหน่งในซุ้มล้อซึ่งจะต้องโดนทำโดนหินโดนความชื้นและอะไรสารพัด
จึงเหมาะที่จะใช้น้ำยาพ่นหรือทามากกว่าครับ
เรายกตัวอย่างของน้ำยาประเภทนี้มาให้ทานๆไว้เป็นทางเลือกกันครับ ทั้ง น้ำยา X-VIBRATION
จากค่าย BRAX เยอรมันนี , STP จาก รัสเซีย และ อีกตัวที่เพิ่มมีนำเข้ามาสดๆร้อนๆ คือค่าย
BLUE PRINT ครับ (ใช้งบประมาณส่วนนี้ ราวๆ5-6พันบาท ครับกับน้ำยาพ่นที่ลดเสียงรบกวนได้ราว 3-5dB ครับ)
STEP ที่ 3 ขั้นตอนนี้ถือเป็น MAIN COURSE ได้เลยครับ
เพราะมันใช้งบประมาณมากที่สุด ของทุกขั้นตอนที่กล่าวมา คือการติดตั้งเจ้า VIBRATION DAMPING ที่ท่านๆเราๆมักเรียกว่า แผ่นแดมป์
นั้นหละครับ การติดตั้ง จะมากน้อยตามสะดวกกระเป๋าท่านๆหละ เพราะว่า
เขาคิดกันเป็นราคาต่อแผ่นครับ หนึ่งแผ่นก็มีขนาดเท่าๆกับบานประตูหนึ่งบาน
โดยหลายๆท่านติดตั้งลงไปถึงสองชั้นครับ
เพราะเจ้าตัวนี้เองที่ทำให้การสั่นกระพรือภายในรถจากตัวถังเหล็กบางๆ กลายเป็นรถถังที่มีความหนา
ลดเสียงรบกวนได้อย่างมหาศาลครับ ท่านจะติดตั้งเพียงที่ประตูสี่บาน หรือ จะติดตั้ง
พื้นรถ หลังคารถ ห้องเก็บสัมภาระท้ายรถ
หรือแทบทุกจุดที่เป็นเหล็กตัวถังรถที่สามารถติดตั้งได้ ผลก็คือ เงียบ นิ่ง
ส่งผลดีสุดๆกับห้องฟังเพลงครับ (งบประมาณการติดตั้ง หลักหมื่นครับ
ตั้งแต่หมื่นกว่าจนถึง สามหมื่นบาทได้ครับตามปริมาณที่ติดตั้งครับกับการลดเสียงรบกวนได้ราวๆ10dB )
STEPที่ 4
ขั้นตอนนี้อาจใช้งบประมาณมากขึ้นอีกหน่อยครับ
ขึ้นอยู่กับว่าต้องการคุณภาพแค่ไหน คือ
เจ้าSOUND PROOFING FOAM ที่ผมยกตัวอย่างมาให้ดูกันในฉบับที่แล้วคือ NOISE STOP FOAM
ที่จะเป็นแผนเรียบๆด้านนอกแต่มีรุพรุนด้านใน เจ้าตัวนี้ จะช่วยมากในแง่ของการ SOUND BLOCK ไม่ให้เสียงจากภายในออกไปภายนอกและไม่ให้เสียงจากภายนอกเข้ามาภายในห้องโดยสาร
เจ้าตัวนี้เองครับที่ทำให้รถเงียบตัวจริงเลยครับโดยที่อย่างต่ำๆสามารถลดระดับความดังในห้องโดยสารลงได้ถึง
15-20dB เลยครับ หากติดตั้งอย่างถูกต้อง
โดยการติดตั้งนั้นสามารถติดตั้งปูลงไปบนพื้นรถใต้พรม
และบริเวณด้านในของแผงประตูทั้งสี่บาน และแปะลงบนหลังคารถ
ก่อนที่จะติดตั้งผ้าหลังคา รวมทั้งติดตั้งบริเวณ ฝากระโปรงหน้าตรงห้องเครื่องยนต์
ก็จะช่วยลงเสียงดังจากเครื่องยนต์ที่เข้ามารบกวนได้มากครับ และยังป้องกันไม่ให้เสียงจากภายในรถ
ออกมานอกรถได้อย่างดีมากๆครับ (งบประมาณการติดตั้ง ราวๆ8พันจนถึง1หมื่นบาทครับ)
หากท่านทำได้ครบสี่ขั้นตอน ที่แนะนำไป
รับรองได้เลยครับว่า
ท่านจะได้ห้องฟังเพลงในรถที่คุณภาพไม่แพ้ห้องฟังเพลงดีๆในบ้านซักเท่าไร
แถมยังทำให้บรรยากาศในการเดินทางดีกว่าเก่ามากมาย
สามารถฟังรายละเอียดยิบย่อยและบรรยากาศของเพลงโปรดที่เราชื่นชอบมันช่างรื่นรมย์มากๆครับถึงแม้ว่าใช้งบประมาณรวมๆกันแล้วเกือบ5หมื่นบาทก็ตามครับ ส่วนท่านที่งบประมาณไม่ได้มากมายนัก ผมก็แนะนำว่า
ท่านทำที่ละขั้นตอนตามลำดับได้ครับ ค่อยๆเป็นค่อยไป ท่านก็จะเห็นและรู้สึกถึงการพัฒนาของชุดเครื่องเสียงในรถท่านได้อีกด้วย ขอให้มีความสุขกับการฟังเพลงในรถนะครับท่านผู้อ่านของผม
ราตรีสวัสดิ์ครับ ชาวโลก
MICKEYMOUSE
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น